ระบบจะมีการสื่อสารกับเครื่องทำน้ำเย็นเพื่ออ่านค่าอุณหภูมิสารทำความเย็นในอีแวปเปอเรเตอร์และคอนเดนเซอร์ และปรับตั้งค่าอุณหภูมิน้ำเย็น จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์รับส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับเครื่องทำน้ำเย็น โดยรับและส่งค่าทุก 15 วินาที เครื่องทำน้ำเย็นรองรับรูปแบบการสื่อสารหลายแบบ เช่น BACnet หรือ MODBUS RTU ในที่นี้โครงการเลือกสื่อสารด้วย MODBUS RTU และใช้การเชื่อมต่อด้วย RS485 MODBUS RTU ทุกคาบ 15 วินาที อุปกรณ์จะอ่านค่าอุณหภูมิสารทำความเย็นทั้งสองค่าและส่งให้เครื่องแม่ข่าย ขณะเดียวกันจะรับข้อมูลปรับตั้งอุณหภูมิน้ำเย็นจากแม่ข่ายและวางให้เครื่องทำน้ำเย็น
ในการพัฒนาใช้ MCU ตระกูล NodeMCU V.3 รับส่งข้อมูลผ่านโมดูล MAX485 กับส่วนควบคุมของเครื่องทำน้ำเย็น
รูปแผงสื่อสารข้อมูลกับเครื่องทำน้ำเย็น
รูปแผงสื่อสารกับเครื่องทำน้ำเย็นที่แล้วเสร็จ
รายการอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อวงจร
รายการอุปกรณ์ | จำนวน (ชิ้น) | รูปอุปกรณ์ |
---|---|---|
1. Node MCU V3 (ESP-12E, USB CH340) | 1 | |
2. MAX485 | 1 | |
3. Male to Female Jumpers Wires | 10 - 20 | |
4. Breadboard 85 x 55 mm | 1 | |
5. 5V 5A Switching Power Supply | 1 |
สำหรับโปรแกรมสำหรับโหลดลง NodeMCU ตามนี้ ท่านสามารถเปิดไฟล์ต่อไปนี้ ด้วยโปรแกรม Arduino IDE ได้เลย เพื่อปรับตั้งค่าให้ตรงกับอาคารของท่าน แล้วอัพโหลดลงบน NodeMCU ที่เตรียมมาผ่านสาย USB ได้เลย
การปรับแก้ข้อมูลในไฟล์โปรแกรม มีเพียง 3 จุด คือ
จุดที่ 1 แก้ค่าชื่อและรหัสเข้า wi-fi ของท่าน
#define WIFI_STA_PASS "YYYY" // ใส่ PASS --> YYYY
จุดที่ 2 แก้ที่อยู่ของแม่ข่าย หรือ PM ให้เป็นตามที่เครือข่ายกำหนดให้ เมื่อท่านจะติดตั้งระบบ ท่านต้องขอที่อยู่หรือ IP ให้กับแม่ข่าย 1 เบอร์ ผู้ดูแลระบบอินเตอร์เน็ตของท่านจะกำหนดที่อยู่ให้กับท่าน เพื่อให้เซ็นเซอร์ทุกตัวส่งค่ามาให้
จุดที่ 3 แก้ชื่อสัญญาณ ที่จะตั้งให้กล่องนั้น ให้ตรงกับที่ท่านจะใช้ ตรงจุดที่นิยามค่า payload เช่น เครื่องทำน้ำเย็น ขุดที่ 5 ท่านต้องแก้ชื่อตัวแปรใน payload ให้เป็น TRFC5 และ QTCH5 เป็นต้น
จากนั้นอัพโหลดได้เลย
Page 7 of 8