โปรแกรมนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่โรงงานอุตสาหกรรม 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมเหล็ก (หลอม/หล่อเหล็กกึ่งสำเร็จรูป) อุตสาหกรรมแก้วและกระจกและอุตสาหกรรมเซรามิก เพื่อทดลองวิเคราะห์ประเมินค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานตนเองก่อนที่จะมีการกำหนดเป็นค่าbenchmark และค่าธรรมเนียมพิเศษต่อไป |
แต่ทั้งนี้โรงงานไม่สามารถนำค่าที่ได้จากการประเมินของโปรแกรมนี้ไปใช้อ้างอิงใดๆกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ |
แนวคิดในการวิเคราะห์ |
การกำหนดค่าธรรมเนียมพิเศษ ใช้แนวคิด Energy Budget คือ การเปรียบเทียบระหว่างปริมาณการใช้พลังงานที่ควรจะเป็นของโรงงานนั้นๆ (E budget) กับปริมาณการใช้พลังงานจริงของโรงงาน (E actual) ส่วนต่างระหว่าง E budget กับ E actual คือ การใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง (หน่วยเป็น MJ) จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเฉพาะส่วนต่างนี้ พิจารณาปริมาณการใช้พลังงานเป็นภาพรวมของทั้งโรงงานเนื่องจากต้องการให้สามารถชดเชยกันได้ในแต่ละกระบวนการผลิตย่อย |
ปริมาณการใช้พลังงานที่ควรจะเป็นของ รง. (Ebudget) ประเมินจาก เกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ (Eref) รายกระบวนการผลิตย่อย (MJ/tonp) คูณกับปริมาณผลผลิต (tonp) นำค่ามารวมกันทุกกระบวนการผลิตย่อยในโรงงาน ดังแผนภาพ |
อัตราค่าธรรมเนียมพิเศษที่เหมาะสม (บาท/MJ) = ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า (บาท/MJ) + ต้นทุนการใช้เชื้อเพลิง (บาท/MJ) โดยคิดรวมต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและต้นทุนสุขภาพในการรักษาพยาบาลจากมลพิษที่ปล่อยออกมาจากการผลิตไฟฟ้าและการใช้เชื้อเพลิงชนิดนั้นๆ
|
์