ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถประหยัดพลังงานในภาคขนส่งลงได้มาก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจะทำให้คุณภาพอากาศของชุมชนเมืองดีขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนยังเป็นไปตามธรรมชาติ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่  เพื่อให้การเข้าสู่ตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าเร็วขึ้น จำเป็นต้องดำเนินการส่งเสริม โดยเลือกกลุ่มที่ปรับเปลี่ยนได้ไม่ยาก และใช้งบประมาณไม่มาก แต่ยังมีอุปสรรคทางการตลาดที่สูง

เช่น ราคาสูงกว่าแบบเครื่องยนต์มาก ผู้ใช้งานขาดความรู้ ความคุ้นเคยในการใช้งาน เมื่อดำเนินการลดอุปสรรคการตลาดได้ มีผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ราคารถก็จะลดลง ผู้ใช้ก็จะเพิ่มมากขึ้น และเกิดการปรับเปลี่ยนตลาดในที่สุด  (Market Transformation) ซึ่งในทางตรงกันข้าม หากไม่มีการส่งเสริมหรือลดอุปสรรคการตลาดให้กับผู้บริโภค การเติบโตจะเป็นไปอย่างช้าๆ และเสียโอกาสในการประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การเปรี่ยบเทียบ

รถตุ๊กตุ๊กที่ใช้เครื่องยนต์

รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า

1.ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

9.14 กม./ลิตร (2 จังหวะ)
10.26 กม./ลิตร (4 จังหวะ)

  0.1-0.2 กิโลวัตต์ชั่วโมง/กม.

2.ค่าใช้จ่ายพลังงาน

1.0-1.12 บาท/กิโลเมตร

0.4-0.8 บาท/กิโลเมตร

3.การใช้พลังงานปฐมภูมิ

2.74 เมกกะจูล/กม.

0.8-1.6 เมกกะจูล/กม.

4.การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

0.178 กก.CO2/กม.

0.06-0.11 กก.CO2/กม.

5.การปล่อยก๊าซไอเสีย  ณ จุดใช้งาน

มี

ไม่มี


นอกจากนี้รถตุ๊กตุ๊กยังเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยว  และมีจำนวนไม่มากนัก  ราคาและเทคโนโลยีไม่สูงมาก ผู้ประกอบการในประเทศมีศักยภาพสามารถพัฒนาขึ้นได้  จึงเป็นรถสาธารณะกลุ่มแรกที่ควรพิจารณาส่งเสริม