วิธีทดสอบประสิทธิภาพมอเตอร์ตามมาตรฐานที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย คือ IEEE-112 และ IEC60034 โดยตามทฤษฎีแล้วการตรวจวัดประสิทธิภาพของมอเตอร์ที่ถือว่าตรงกับความเป็นจริงที่สุด คือ การตรวจวัดกำลังงานที่เพลา (Shaft power output) ทั้งนี้กำลังงานด้านออกที่แกนเพลาของมอเตอร์ จะถูกคำนวณจากค่าแรงบิดที่แกนและความเร็วรอบขณะมอเตอร์ขับโหลดขนาดใดๆ

วิธีทดสอบประสิทธิภาพมอเตอร์ตามมาตรฐานที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย คือ IEEE-112 และ IEC60034 โดยตามทฤษฎีแล้วการตรวจวัดประสิทธิภาพของมอเตอร์ที่ถือว่าตรงกับความเป็นจริงที่สุด คือ การตรวจวัดกำลังงานที่เพลา (Shaft power output) ทั้งนี้กำลังงานด้านออกที่แกนเพลาของมอเตอร์ จะถูกคำนวณจากค่าแรงบิดที่แกนและความเร็วรอบขณะมอเตอร์ขับโหลดขนาดใดๆ

การประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์ที่ติดตั้งไปแล้วที่หน้างานได้มีผู้เสนอไว้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีความคลาดเคลื่อนและความสะดวกในการตรวจวัดรวมถึงการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน อาทิเช่น วิธีการประเมินจากค่ากำลังไฟฟ้า (Input power method) วิธีการประเมินจากค่าไถล (Slip method) วิธีการประเมินจากค่ากระแส (Current method) เป็นต้น นอกจากวิธีพื้นฐานดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์ที่ได้ถูกเสนอไว้อีก เช่น วิธีการวงจรสมมูล (Equivalent circuit) และวิธีการแรงบิดที่ช่องว่างอากาศ (Air gap torque) ทั้งนี้หลักการแต่ละวิธีโดยพื้นฐานสามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้

  1. วิธีประเมินจากค่ากำลังไฟฟ้า (Input Power Method)
  2. วิธีการประเมินจากค่าไถล (Slip method)
  3. วิธีการประเมินจากค่ากระแส (Current method)
  4. วิธีการวงจรสมมูล (Equivalent circuit)
  5. วิธีการแรงบิดที่ช่องว่างอากาศ (Air gap torque)

ที่มา: กีรติ ชยะกุลคีรี และ วิชชากร เฮงศรีฮวัช, 2558, การพัฒนารูปแบบการทดสอบประสิทธิภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบ 3 เฟสที่สภาวะทำงานจริงสำหรับการวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงาน, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อ สกว. (โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ. - สวก.)