กระแส “ยานยนต์ไฟฟ้า” ที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัว ซึ่งกำลังจะก้าวเข้ามาทดแทน รถยานยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิล ในหลายประเทศ เช่น จีน, อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้ออกนโยบายให้รถยนต์ในประเทศนั้นเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด สำหรับประเทศไทยรัฐบาลเองก็สนับสนุนเต็มที่เช่น ออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนในด้านภาษีให้กับผู้ที่สนใจผลิตรถยานยนต์ไฟฟ้า

บริษัท RMA ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์พิเศษระดับโลก สัญชาติไทยมีโรงงานผลิตอยู่ที่แหลมฉบัง ผลิตรถพิเศษ เช่น รถกันกระสุน รถวิ่งในทะเลทราย หรือบริเวณที่สูงที่ออกซิเจนต่ำ ดำเนินธุรกิจใน 19 ประเทศ ออกแบบและผลิตรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า สไตล์โมเดริ์นน่ารัก ที่เราเห็นกันในงานเปิดตัวโครงการและงานแฟร์ต่างๆ กันมาแล้ว

กำหนดการ งานสัมมนาเปิดโครงการสนับสนุนการเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กให้เป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า โครงการสนับสนุนการเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กให้เป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า (eTukTuk) วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2560 เวลา 09.30–13.30 น. ห้องอินฟินิตี้ 1-2 โรงแรม พูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพ

บริษัท พีคเพาเวอร์ มอเตอร์ จำกัด ส่งรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า แพนเธอร่า รุ่น classic ไปจดทะเบียนและใช้งานแล้วที่เชียงใหม่ มานานกว่า 6 เดือน จนมั่นใจว่าตอบโจทย์ผู้ใช้รถตุ๊กตุ๊กทุกข้อ

วันนี้ทีมงาน อีตุ๊กตุ๊กนิวส์ ได้บุกมากันที่โรงงานผลิตรถบริษัท พีคเพาเวอร์ มอเตอร์ จำกัด ย่านสามพราน นครปฐม เพื่อขอสัมภาษณ์พิเศษ ผู้บริหารบริษัท เกี่ยวกับที่มาที่ไปของการทำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าของผู้ผลิตรายนี้
หลังจากที่ ขับรถหลงกันพอหอมปากหอมคอแล้ว เราก็มาถึงโรงงานได้สำเร็จ และได้พบกับคุณไชยรัตน์ รัตนวราภรณ์ กรรมการผู้จัดการและคุณธนวัฒน์ ประสานธรรมคุณ ผู้จัดการทั่วไป ซึ่งรอเราอยู่แล้ว

แบตเตอรี่ ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น

  • แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลาและต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ ไฮโดรเจน ที่เกิดจากปฏิกิริยาและแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือแบตเตอรี่ รถยนต์ ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 วัตต์ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1100 แอมแปร์ สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ กรดซัลฟิวริกซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนังและตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่มีราคาแพงมากเรียกว่า แบตเตอรี่เจล (หรือ "เจลเซลล์") ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี

ข้อมูลเกี่ยวกับจากจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนผันการงดรับจดทะเบียนรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล คลิกที่นี่
PPT การจดทะเบียนรถยนต์สามล้อ คลิกที่นี่

 

เริ่มต้นจากการถอดเครื่องยนต์ หม้อน้ำ ระบบท่อไอเสีย ถังน้ำมัน รวมถึงชิ้นส่วนที่ใช้จับยึดของอุปกรณ์ดังกล่าว แล้วจึงทำการ ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ ปั๊มสุญญากาศสำหรับหม้อลมเบรก ชุดแบตเตอรี่และชุดควบคุมการทำงาน ชุดควบคุมอุณหภูมิของแบตเตอรี่ ชุดแปลงไฟกระแสตรง (DC to DC converter) คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศแบบไฟฟ้า และชุดควบคุม อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit) รวมถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์จับยึดสำหรับการติดตั้งเข้าไปแทนที่มอเตอร์

คลีนฟูเอล รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าไทยที่ผลิตจำหน่ายไปแล้วเกือบ 100 คัน จากมันสมองของนักประดิษฐ์ไทย ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรถึง 6 รายการ และกำลังพัฒนาแบตเตอรี่แบบประจุเร็ว วันนี้ทีมงานอีตุ๊กตุ๊กนิวส์ ได้รับเกียรติจากพลอากาศโทมรกต ชาญสำรวจ วิศวกรและนักประดิษฐ์ เจ้าของบริษัทคลีนฟูเอลเทคโนโลยี และเจ้าของผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์จำนวนมากในงานสำคัญๆ ของประเทศ เราเดินทางมาพบท่านมรกตที่โรงงานและศูนย์วิจัยย่านพหลโยธิน วันนี้ท่านเป็นทั้งผู้ให้สัมภาษณ์ และผู้พาชมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ สร้างความประทับใจให้กับพวกเราอย่างมาก

ความเป็นมา ยานยนต์ไฟฟ้า

การคิดค้น เริ่มจากแบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟใหม่ได้ ในรถไฟฟ้า คิดค้นได้หลังปี 1859 ค้นคิดโดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส Gaston Plante ได้คิดค้นแบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว-กรด ต่อมาปี 1884 นาย Thomas Parker ได้คิดค้นรถไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เขาได้ออกแบบ แบตเตอรี่ที่มีความจุไฟฟ้าสูง สำหรับใช้ในรถไฟฟ้าของเขา นอกจากนั้นเขาได้สนใจในการสร้างรถที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงสูง เพื่อลดควันและมลพิษในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ในปี 1888 ก็ยังมีผู้คิดค้นชาวเยอรมัน Flocken Elecktrowagen ได้คิดค้นรถไฟฟ้า ในยุครุ่งเรือง รถไฟฟ้าได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ในสมัยนั้นยานพานะที่มีต้นกำลังเป็นไฟฟ้าได้รับความนิยมเร็วกว่าต้นกำลังอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรถลากและรถรางไฟฟ้ากันมากรวมไปถึงยานพาหนะส่วนตัวด้วย มีผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหม่เกิดขึ้นมากมาย เพราะรถไฟฟ้าได้รับความนิยมอย่างสูงโดยเฉพาะในแวดวงไฮโซ ขณะที่มีการห้ำหั่นกันในเชิงธุรกิจของผู้ผลิตรถไฟฟ้าอยู่นั้น

เพื่อให้ผู้สนใจ รู้จักรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามากขึ้น ทางกอง บก. อีตุ๊กตุ๊กนิวส์ จึงได้เปิดคอลัมน์ใหม่ “พบผู้ผลิต E-TUKTUK” ขึ้น โดยจะแวะเวียนไปพบ และสัมภาษณ์บริษัทผู้ผลิตแต่ละราย นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นระยะ ใครที่เรายังไม่ได้เข้าพบก็นัดหมายทีมข่าวเรามาได้นะคะ

วันนี้คอลัมน์ “พบผู้ผลิต E Tuk Tuk” บุกเข้ามาคุยกับสุรวุฒิ มิลินทางกูร ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และคุณ Dennis Harte กรรมการผู้จัดการบริษัท ตุ๊ก ตุ๊ก แฟคตอรี่ แบบสบายๆ ที่โรงงานผลิตย่านบางพลี และจะขอทดลอง Test ride ไปในตัว


1. รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า จะดับกลางทาง เพราะแบตหมดหรือไม่???
2. แบตเตอรี่ราคาแพงมากจริงหรือ???
3. รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าค่าบำรุงรักษาแพงจริงหรือ???
4. รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าชาร์จไฟได้ที่ไหน แล้วต้องใช้เวลานานเท่าไหร่???
5. นั่งรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าจะถูกไฟดูดมั๊ย???
6. รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าจะจดทะเบียนอย่างไร???
7. ธุรกิจอู่ประกอบการรถตุ๊กตุ๊กจะได้รับผลกระทบเมื่อรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเข้ามาจริงหรือ???